รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2560–ปัจจุบัน) ของ มาสด้า ซีเอ็กซ์-5

รุ่นที่ 2
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อ2560–ปัจจุบัน
รุ่นปี2560–ปัจจุบัน
แหล่งผลิตUjina Plant No.2, ฮิโรชิม่า, ญี่ปุ่น[5]
Hofu Plant, โฮฟุ, ญี่ปุ่น[5]
คูลิม, มาเลเซีย[6]
หนานจิง, จีน
ตัวถังและช่วงล่าง
แพลตฟอร์มMAZDA SKYACTIV platform
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์2.0 L SKYACTIV-G (PE-VPS) I4
2.5 L SKYACTIV-G (PY-VPS) I4
2.5 L SKYACTIV-G (PY-VPS) I4-Turbo
2.2 L SKYACTIV-D (SH-VPTS) I4-Turbodiesel
ระบบเกียร์อัตโนมัติ SKYACTIV-DRIVE 6 จังหวะ
ธรรมดา SKYACTIV-MT 6 จังหวะ
มิติ
ระยะฐานล้อ2,698 mm (106.2 in)
ความยาว4,550 mm (179.1 in)
ความกว้าง1,842 mm (72.5 in)
ความสูง1,680 mm (66.1 in)
น้ำหนัก1,505–1,659 kg (3,318–3,657 lb)
ด้านหลังรุ่นที่สอง

ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 มาสด้า ซีเอ็กซ์ 5 รุ่นที่สองได้เปิดตัวครั้งแรกในโลกที่งานลอสแอนเจลิส ออโต้โชว์ มาสด้า หลังจากนั้น เดือน ธันวาคม 2016 ประเทศญี่ปุ่นก็ได้เป็นประเทศแรกที่เริ่มผลิตและส่งมอบซีเอ็กซ์-5 ใหม่นี้ ซีเอ็กซ์-5 โฉมที่สองเป็นรถยนต์มาสด้ารุ่นแรกในสหรัฐอเมริกาที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล

สำหรับประเทศไทย ซีเอ็กซ์-5 ได้เปิดตัวเมื่อบ่ายวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ตามหลังการเปิดตัวในประเทศมาเลเซีย 1 เดือน โดยตัวรถยังคงนำเข้าจากประเทศมาเลเซียเช่นเดิม โดยมีรุ่นย่อย C, S, SP (เครื่องยนต์เบนซิน) และรุ่นย่อย XD, XDL (เครื่องยนต์ดีเซล)

สำหรับเครื่องยนต์ รุ่นที่สองยังคงใช้เครื่องยนต์เดิมจากรุ่นที่แล้วคือเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร 165 แรงม้า แรงบิด 210 นิวตันเมตรและเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร 175 แรงม้า แรงบิด 420 นิวตันเมตร ส่วนเครื่องยนต์เบนซิน 2.5 ลิตรไม่ได้ทำการตลาดในประเทศไทยอีกแล้ว ทุกเครื่องยนต์เชื่อมระบบเกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ

ระบบความปลอดภัยในสำหรับทุกรุ่นย่อยได้แก่ระบบเบรกABS/EBD/BA, ระบบควบคุมเสถียรภาพและการทรงตัวของรถ (DSC), ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและควบคุมการลื่นไถล (TCS), ระบบควบคุมแรงบิดขณะเข้าโค้ง G-Vectoring Control, ระบบช่วยออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน (HLA), ระบบไฟฉุกเฉินอัตโนมัติเมื่อเบรกกะทันหัน (ESS), ระบบเตือนเมื่อมีรถอยู่ในจุดอับสายตา (ABSM : Advanced Blind Spot Monitoring), ระบบเตือนเมื่อมีรถอยู่ในจุดอับสายตาขณะถอยหลัง (RCTA : Rear Cross Traffic Alert), ถุงลมนิรภัย 6 ตำแหน่ง (คู่หน้า-ด้านข้าง-ม่านนิรภัย), กล้องมองภาพขณะถอยจอด

ส่วนระบบความปลอดภัยที่มีเฉพาะรุ่นย่อย SP และ XDL คือระบบ i-ACTIVSENSE คือ ระบบไฟหน้าอัจฉริยะ ALH : Adaptive LED Headlamps, ระบบเตือนเมื่อรถเบี่ยงออกนอกเลน LDWS : Lane Daparture Warning System, ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน LAS : Lane-keep Assist System, ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติ SCBS : Smart City Brake Support, ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติขณะถอยหลัง SCBS-R : Smart City Brake Support-Reverse, ระบบช่วยเตือนเมื่อเหนื่อยล้าขณะขับขี่ DAA : Driver Attention Alert, ระบบเตือนการชนด้านหน้า และ ช่วยเบรกอัตโนมัติ SBS : Smart Brake Support, ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน MRCC : Mazda Radar Cruise Control

ในรุ่นปี 2019 มีการเพิ่มเครื่องยนต์ใหม่ล่าสุด เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ DOHC Direct Injection Dual S-VT ขนาด 2.5 ลิตร 2,488 ซีซี. พ่วงเทอร์โบ กระบอกสูบ x ระยะช่วงชัก : 89.0 x 100.0 มิลลิเมตร อัตราส่วนกำลังอัด 10.5 : 1 กำลังสูงสุด 231 แรงม้า ที่ 5,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 420 นิวตันเมตร ที่ 2,000 รอบ/นาที

แหล่งที่มา

WikiPedia: มาสด้า ซีเอ็กซ์-5 http://carsnewupdate.blogspot.com/2016/02/mazda-cx... http://www.carbodydesign.com/media/2012/02/Mazda-C... http://www.headlightmag.com/main/index.php?option=... http://www.headlightmag.com/main/index.php?option=... http://www.headlightmag.com/mazda-cx-5-minorchange... http://www2.mazda.com/en/publicity/release/2017/20... http://www.thairath.co.th/content/581799 https://insidemazda.mazdausa.com/press-release/maz... https://web.archive.org/web/20170930151601/http://...